Sunday, 15 March 2009

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 องค์ประกันหงสา



ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 องค์ประกันหงสา (Limited Edition)
พุทธศักราช 2016 พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ทรงกรีฑาทัพเข้าตีราชอาณาจักรอยุธยาทางด่านระแหงแขวงเมืองตาก ทัพพม่ารามัญซึ่งมีรี้พลเหลือคณานับ ได้เข้ายึดครองหัวเมืองฝ่ายเหนือของราชอาณาจักรอยุธยา อันมีเมืองพิษณุโลกเป็นประหนึ่งเมืองราชธานีได้เป็นผลสำเร็จ ...ครั้งนั้น สมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดาของสมเด็จพระเนเรศวรหรือพระองค์ดำ ซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินครองเมืองพิษณุโลก จำต้องยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนอง เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตอาณาประชาราษฎร์มิให้ต้องมีภยันตรายและจำต้องยอมร่วม กระบวนทัพพม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยา ...ศึกครั้งนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้าแผ่นดินอยุธยา ทรงยอมเจรจาหย่าศึกกับพม่ารามัญ และยอมถวายช้างเผือนก 4 เชือก ทั้งให้สมเด็จพระราเมศวรราชโอรส โดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปประทับยังนครหงสาวดีตามพระประสงค์ของกษัตริย์พม่า ...ช้างสมเด็จพระมหาธรรมราชา ซึ่งได้ยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนอง ก็ได้ถวายสมเด็จพระนเรศาวรราชโอรสองค์โตให้ไปเป็นองค์ประกัน ประทับยังหงสาประเทศเฉกเช่นกัน ครั้งนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมมายุได้เพียง 9 ชันษา ...สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นที่รักใครของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเองประดุจพระ ราชบุตรร่วมสายสันตติวงศ์ ด้วงองค์ยุพราชอยุธนาทรงมีพระปรีชาสามารถด้านพิชัยยุทธ ทั้งยังองอาจกล้าหาญ สบพระทัยกษัตริย์พม่าซึ่งก็ทรงเป็นนักการทหาร นิยมผู้มีคุณสมบัติเป็นนักรบเยี่ยงพระองค์ ...พระเจ้าบุเรงนองทรงมีสายพระเนตรยาวไกล แลเห็นว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะได้ขึ้นเป็นใหญ่ในอุษาคเน ย์ประเทศ จึงทรงคิดใคร่ปลูกฝังให้สมเด็จพระนเรศวรผูกพระทัยรักแผ่นดินหงสา เพื่อจะได้อาศัยพระองค์เป็นผู้สืบอำนาจอุปถัมภ์ค้ำชูราชอาณาจักรซึ่งพระองค์ ทรงสถาปนาขึ้นด้วยความยากลำบาก เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระเจ้าบุเรงนองนั้นหาได้วางพระทัยในพระราชโอรสคือ มังเอิน (พระเจ้านันทบุเรง) และพระราชนัดดามังสามเกียดนัก ...ถึงแม้ทั้งสองพระองค์จะทรงเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขโดยตรง ด้วยทรงเล็งเห็นว่าราชนิกูลทั้งสองพระองค์นั้นหาได้เป็นผู้ทรงคุณธรรมอัน จะน้อมนำเป็นพื้นฐานให้ เติบใหญ่เป็นบูรพกษัตริย์ ปกป้องครองแผ่นดินที่พระองค์ทรงสร้างและทำนุบำรุงมาด้วยกำลังสติปัญญาและ ความรักใคร่หวงแหน ...เหตุทั้งนี้เป็นชนวนให้พระเจ้านันทบุเรงและราชโอรสมังสามเกียดชัดพระทัย ทั้งผูกจิตริษยาสมเด็จพระนเรศวรซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าหงสาวดีบุเรง นองกว่าราชนิกูลข้างพม่าทั้งหลายทั้งสิ้น ...พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดให้พระมหาเถรคันฉ่อง พระรามัญผู้มากด้วยวิทยาคุณและเจนจบ ในตำราพิชัยสงครามเป็นพระอาจารย์ถ่ายทอดศิลปะวิทยาการแก่สมเด็จพระนเรศวร นับแต่เริ่มเข้าประทับในหงสานคร ยังผลให้ยุพราชอยุธยาเชี่ยวชาญการยุทธ กลช้าง กลม้า กลศึก ทั้งข้างอยุธาและข้างพม่ารามัญหาผู้เสมอเหมือนมิได้ ข้อได้เปรียบตามกล่าวเป็นเสมือนทุนทางปัญญาอันส่งผลให้สมเด็จพระนเรศวร สามารถกอบกู้เอกราช แก้ทางศึกจนมีชัยเหนือพม่ารามัยในภายภาคหน้า ...พุทธศักราช 2112 ปรากฎข่าวระบือไปถึงหงสาวดีว่า หัวเมืองพิษณุโลกฝ่ายเหนือแลกรุงศรีอยุธนาราชธานีฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรสยาม ครั้งนั้นเกิดขัดแย้งปืนเกลียวกันเหตุเนื่องมาจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้า แผ่นดินอยุธาเสด็จออกผนวช แลสถาปนาสมเด็จพระมหินทรราชโอรสองครองขึ้นเสวยราชสมบัติสืบแทน สมเด็จพระมหินทร์ทรงคลางแคลงพระทัยในความจงรักภักดีของสมเด็จพระธรรมราชาแต่ ครั้งสงครามชิงช้างเผือกในปีพุทธศักราช 2106 ขณะที่เจ้าแผ่นดินพิษณุโลก ก็หาได้ยำเกรงสมเด็จพระมหินทร์เช้าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ...เมื่อเห็นการใดมิควรก็บังคับบัญชาให้สมเด็จพระมหินทร์ปฎิบัต ิตามพระประสงค์จนเป็นที่ขุ่นเคืองพระราชหฤทัยกษัตริย์อยุธยาพระองค์ใหม่ ถึงกับหันไปสมาคบกับสมเด็นพระไชยเชษฐาธิราช พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวร่วมกันแต่งกลเข้าตีเมืองพิษณุโลก แต่กระทับการมิสำเร็จ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเห็นเชิงสบโอกาสก็ยกทัพใหญ่เข้าตีกรุงศรีอยุธยาอีกคำ





0 comments:

Post a Comment

 
Design by Wordpress Theme | Bloggerized by Free Blogger Templates | coupon codes